วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีปีใหม่

สวัสดีปีใหม่มิตรสหายทุกท่าน
ขออนุญาตโยนหินมาล่อหยก 555
สุขสันต์วันปีใหม่


สุภวิโมกข์
๒๙ ธ.ค. ๕๒


สวัส ดิฤกษ์เบิกฟ้า...............คราสมัย
ดี กอปรธรรมนำใจ...............สว่างล้ำ
ปี เดือนเคลื่อนคล้อยไป........ผันเปลี่ยน
ใหม่ เก่าทุกข์สุขย้ำ..............สลัดพ้นเจริญใจ ฯ
(โคลงสี่สุภาพ)


อรุณรุ่งประกายฟ้า.................อร่ามตาพิสุทธิ์ใส
ระเริงรื่นวิถีไทย....................ประโคมขับประดับยล
ประณตน้อมประณมกร...........จะขอพรประสิทธิ์ผล
พระไตรรัตน์ ธ บันดล............ขจัดป้องผิภัยพาล
คุณากรทิศาทั่ว....................มิหมองมัวสมัครสมาน
เกษมสันต์นิรันดร์กาล............สถิตทั่วสถาพร ฯ
(ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒)


กวีคำถึงมิ่งมิตร....................ทั่วทุกทิศสโมสร
สดับพจน์บทกลอน...............อำนวยพรมาจากใจ
วันนี้ฤกษ์ดีแล้ว....................ให้คลาดแคล้วจากผองภัย
ปรารถนาในสิ่งใด.................ให้สมหวังดังใจปอง
ธรรมหนุนบุญรักษา...............ทุกเวลามิหม่นหมอง
เจริญธรรมตามครรลอง...........ดุจแสงทองผ่องอำไพ ฯ
(กาพย์ยานี ๑๑)


เชิญเพื่อนพ้องร่วมอวยพรโคลงกลอนกาพย์
ให้ซึมซาบประโลมจิตมิตรสดใส
เป็นของขวัญแก่กันจากดวงใจ
พรปีใหม่ล้ำเลิศประเสริฐเอย ฯลฯ
(กลอนแปด)















14 ม.ค. 53 ผ่านไปครึ่งเดือน เราก็ได้หยกชิ้นสำคัญมาจนได้
แม้เจ้าของผลงานจะถ่อมตนว่าเป็นเพียง "ก้อนกรวด"
แต่หยกก็ย่อมเป็นหยก ว่ามั้ย อิอิอิ




วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

?????

เห็นบ้านโน้นเค้ากะลังหนุกหนานกะการแต่งไฮกุ 555

แต่เราขี้เกียจสุดๆ หัวไม่แล่น ดองไว้ก่อน เอิ๊กส์



ช่วงนี้ ต่อมกวี มันเหี่ยวห่อ

สมองฝ่อ หนืดหนับ รับไม่ไหว

นี่แหละหนา สังขาร ไม่ทันไร

มันจะไป เสียแล้ว แม่แก้วตา


555 ขนาดชื่อเรื่องยังไม่รู้จะตั้งว่าอะไร

3-4 วันนี้จะไปรับอากาศหนาวแถวบ้านนอกซะหน่อย

ต่อด้วยจะไปนอนวัดสัก 3-4 วัน

ถ้าความขี้เกียจไม่ชนะเสียก่อนนะ 555


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขอเวลาหน่อย



อัพรูปดีกว่า ง่ายดี อิอิอิ ขี้เกียจตัวเป็นขนแล้ว เอิ๊กส์

ไปปั่นงานต่อก่อน งึมๆ



วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันเกิดมิตรสหาย

ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันดี คือวันคล้ายวันเกิดของกัลยาณมิตรคนหนึ่งของข้าพเจ้า ก็เลยนึกถึงความสนุกสนานเก่าๆ สมัยเขียนบล็อคเพลง ตอนนั้นมิตรสหายล้วนเป็นพวกบ้าเพลงด้วยกัน เมื่อถึงวันเกิดใครก็จะเขียนบล็อคมอบเพลงให้กันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง แต่เนื่องจากกัลยาณมิตรคนนี้ท่านโปรฯ ด้านธรรมมะ และยังเป็นนักกวีที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย บล็อควันเกิดสำหรับเพื่อนอย่างท่านจึงต้องออกมาเป็นบทกลอน

ซึ่งเจ้าของวันเกิดได้แต่งบทกวีสำหรับวันเกิดของท่านเองส่งมาให้ข้าพเจ้า เจ้าของบล็อคในฐานะแฟนคลับและเพื่อนคนหนึ่งจึงขอนำมาลงในบล็อคนี้เพื่อแสดงความยินดีในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ (เท่าไหร่ไม่รู้) ถ้าประมาณอายุทางธรรมคงเกินร้อย แต่อายุจริงน่าจะยังวัยรุ่น (ตอน ???) อยู่ อิอิอิ พร้อมบทกวีอำนวยพรของข้าพเจ้าที่มอบให้ในวาระวันคล้ายวันเกิดนี้ด้วย





HAPPY  BIRTHDAY 





มีบทกวีที่กัลยาณมิตรท่านนี้ได้เขียนสนทนาโต้ตอบกับบทกวีในบล็อคของข้าพเจ้ารวมทั้งต่อยอดให้ด้วย ขอนำมารวมไว้ด้วยกันในบล็อคนี้เสียเลย ขี้เกียจเขียนหลายบล็อค อิอิอิ








วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระอรหันต์ผู้บวชแล้วสึก 7 ครั้ง

(1) พระจิตตหัตถ์เจ้า
บวชสึกอยู่เจ็ดครา
เพ่งพินิจภรรยา
ประจักษ์โสดาแล้

(2) พระจิตตหัตถ์เจ้า
คิดถึงซึ่งภรรยา

(3) สุดท้ายเพ่งพินิจ
ซากศพดูช่างเหมือน

(4) ซาบซึ้งซึ่งไตรลักษณ์
ครั้งเจ็ดสุดท้ายนั้น

(5) เพียรเพ่งเผากิเลส
อรหัตต์ท่านสร้างเสริม

(6) ภิกษุผู้เพื่อนพ้อง
เหตุใดครานี้ท่าน

(7) คราก่อนมีเครื่องข้อง
บัดนี้เครื่องพันธนา

(8) ภิกษุต่างดำริ
กราบทูลพระพุทธองค์

(9) ธรรมบท ธ ทรงตรัส
ตรัสถึงซึ่งปัญญา

(10) แส่ส่ายฟุ้งซ่านไป
ปัญญามิอาจตรง

(11) แต่ผู้อันราคะ
ละทั้งบุญบาปสูญ

(12) วัตถุกามกิเลส
อันตรายต่อพรหมจรรย์

(13) เพราะเหตุท่านละแล้ว
ตื่นรู้อยู่ทุกครา


เถรา
ยุ่งแท้
ดุจซาก ศพเฮย
หลีกพ้นมลทิน ฯ

บวชแล้วเล่าอยู่เจ็ดครา
ลาสิกขาออกสู่เรือน

แม่หลับสนิทไม่บิดเบือน
มิอาจเอื้อนเอ่ยครามครัน

โสดามรรคบรรลุพลัน
ไม่อาจหันกลับทางเดิม

ประหารเหตุอย่าเหิมเกริม
บรรลุเพิ่มจบพรหมจรรย์

ต่างจดจ้องถามไถ่กัน
ไม่สึกพลันเหมือนก่อนมา

จึงจำต้องลาสิกขา
อาตมาปลดแอกลง

ท่านอุตริมนุสธรรมคง
ตถาคตทรงเปล่งวาจา

ภาษิตชัดในมรรคา
ผู้จิตนั้นไม่มั่นคง

ความเลื่อมใสไม่หยั่งลง
พระสัทธรรมคงไม่บริบูรณ์

แลโทสะไม่พอกพูน
กิเลสมูลไม่ติดพัน

ไม่เป็นเหตุเภทภัยอัน
ผัสสะนั้นเพียงกิริยา

ไม่อาจแผ้วภัยพาลมา
นี้ธรรมาแห่งพุทธธรรม



ปัญญาของคนที่จิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม

มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ย่อมไม่บริบูรณ์

ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ที่จิตไม่ชุ่มด้วยราคะ

โทสะไม่กระทบ ละบุญละบาปได้แล้ว ตื่นอยู่


เก็บความจาก
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประทีปบูชา

@ สารีปุตตเจ้า

ดับสนิทอนุปาทา

เพ็ญทวาทศมาสมา

ประทีปบูชาแล้ว


เถรา

เพริศแพร้ว

บรรจบ

ท่านนั้นพรรณนา ฯ





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

จุนทสูตร

ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร



[๗๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ บ้านนาฬกคาม

ในแคว้นมคธ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน ครั้งนั้น

ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.


[๗๓๔] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตร เข้าไปหา

พระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี นมัสการ

ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระองค์ สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์

แล้ว.


[๗๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะรูปนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร

ปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะ

งอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะ

ได้ฟังว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.


[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์

ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์

ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตร

เป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดง

ธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม

ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.


[๗๓๗] พ. ดูกรอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า

จักต้องมีความจาก ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เพราะ

ฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้


[๗๓๘] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใดซึ่งใหญ่

กว่าลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพาน

แล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว

ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย

ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.


[๗๓๙] ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ

มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชญาและโทมนัสในโลก

เสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร

อานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม

เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล.


[๗๔๐] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี

จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็น

ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

จบ สูตรที่ ๓


อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก จุนทสูตร

อ่านอรรถกถา จุนทสูตร

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วยความโกรธ

                    ความโกรธเหมือนรอยขีด

(1) บุคคลสามพวกนี้
พระศาสดาเฉลย
เลขสูตรเอื้อนเอ่ย
รอยขีดสามอย่างไซร้

(2) หนึ่งเปรียบรอยขีดไว้
โกรธบ่อยหมักดองสิ้น
น้ำลมพัดกัดกิน
ติดแน่นต่อภายหน้า

(3) สองรอยขีดแห่งพื้น
น้ำเซาะลมพัดสี
เปรียบได้ดั่งพวกที่
แต่ไม่หมักดองไว้

(4) รอยขีดบนแผ่นน้ำ
ถูกว่าแม้หยาบหยาม
ไม่โกรธกลับสมานตาม
เปรียบดั่งรอยบนน้ำ

เปรียบเปรย
ตรัสไว้
เปรียบเทียบ
เปรียบได้โกรธา ฯ

บนหิน
เนิ่นช้า
ยากลบ
จึ่งได้ลบเลือน ฯ

ปฐพี
ลบได้
มักโกรธ
แน่นแฟ้นหนักหนา ฯ

พวกสาม
หนักซ้ำ
กันอยู่
บรรจบได้โดยพลัน ฯ





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เลขสูตร

          [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน ๑
บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน ๑
บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหินเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธเนืองๆ
ทั้งความโกรธของเขานั้นนอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก
เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ
ย่อมตั้งอยู่ยั่งยืนแม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมโกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นก็นอนเนื่อง
อยู่ในสันดานนานนัก นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นหิน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดินเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ โกรธเนืองๆ
แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่องอยู่ในสันดานนานนัก
เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน ลบเลือนไปโดยเร็วเพราะลมและน้ำ
ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนแม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมโกรธเนืองๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดานนานนัก นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่แผ่นดิน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ
แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ
ก็คงสมานไมตรี กลมเกลียว ปรองดองกันอยู่
เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ จะขาดจากกันก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น
ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะถูกว่าด้วยคำหนักๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบๆ
แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่พอใจ ก็คงสมานไมตรี
กลมเกลียวปรองดองกันอยู่ นี้เรียกว่า บุคคลผู้เปรียบด้วยรอยขีดที่น้ำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ


จบกุสินารวรรคที่ ๓


อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก เลขสูตร
อ่านอรรถกถาเลขสูตร


--------------------------------------------


“ก็ชนเหล่าใด
เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า
‘ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา
ผู้โน้นได้ชนะเราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว’
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้,

ส่วนชนเหล่าใด
ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า
‘ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ติเรา
ผู้โน้นได้ชนะเราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว’
เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับได้.”

อรรถกถา คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ เรื่องพระติสสเถระ

(1) นรชนในโลกนี้
ผรุสวาทบาดใจกาย

(2) จึ่งมุ่งเอาแพ้ชนะ
เกิดก่อแต่ภัยเวร

(3) สละเสียซึ่งความโกรธ
พยาบาทอาฆาตไว้

(4) น้อมนำเมตตาจิต
ทำได้ย่อมเป็นคุณ

โทสะมีกันง่ายดาย
ลบเลือนได้แสนยากเย็น

ไม่ยอมละดับทุกข์เข็ญ
มิหลีกเร้นระงับใจ

พินิจโทษแห่งเวรภัย
ย่อมเผาใจเราเป็นจุณ

มาพินิจแลเกื้อหนุน
เกื้อการุณกันเถิดเรา



อัสสุชลหลั่งแล้ว......มากมี

@ อัสสุชลหลั่งแล้ว
กว่าจตุมหานที
พบพรากสิ่งเลวดี
ครวญคร่ำร่ำไห้ล้น

@ อัสสุชลหลั่งไหล
สบสิ่งอันชิงชัง

@ ยิ่งกว่ามหานที
อย่างนี้เป็นอาจิณ

@ ด้วยเหตุสงสารนั้น
เบื้องปลายอย่าพึงหา

@ ควรที่จะเบื่อหน่าย
เร่งเถิดพรหมจรรย์
มากมี
เอ่อท้น
ผันเปลี่ยน
เอ่อน้ำตาพรู ฯ

สิ่งพึงใจไม่สมหวัง
ทุกข์ประดังน้ำตาริน

สมุทรทั้งสี่น้ำมากสิ้น
ได้ยลยินสดับมา

เบื้องต้นอันไม่พบพา
เสียเวลาพร่ำรำพัน

แลจางคลายในกองขันธ์
มรณานั้นอยู่ไม่ไกล ฯ



@ อัสสุสูตรตรัสไว้
เหล่าสัตว์เที่ยวไปมา
พบพรากจากพัดพา
เสื่อมสบโภคะไร้
ศาสดา
ร่ำไห้
ญาติมิตร
หลั่งน้ำตานอง ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. อัสสุสูตร

                [๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ

                ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ

                [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด
พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๓


อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก อัสสุสูตร
อ่านอรรถกถาอัสสุสูตร

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เสียงบ่นเพ้อ … ลอยๆ

เขียนมั่วๆ มั่วๆ เขียน จวนเจียนค่ำ
สายฝนฉ่ำ ฉ่ำสายฝน อยู่หนหลัง
คิดคำนึง คำนึงคิด จิตประดัง
น้ำตาหลั่ง หลั่งน้ำตา ไร้ค่าคน

หมดปัญญา ปัญญาหมด น่าอดสู
นั่งคุดคู้ คุดคู้นั่ง ยังสับสน
วนเวียนวก วกวนเวียน เจียนอับจน
สู้ดิ้นรน ดิ้นรนสู้ อยู่เรื่อยไป

คิดย้อนยอก ยอกย้อนคิด คิดไปเรื่อย
เฉยชาเฉื่อย เฉื่อยชาเฉย เลยไถล
ฟุ้งเฟ้อจิต จิตฟุ้งเฟ้อ เผลอไปไกล
อัดอั้นใจ ใจอัดอั้น ฝันลมๆ

นั่งนิ่งนึก นึกนิ่งนั่ง นั่งนิ่งเฉย
กาลล่วงเลย เลยล่วงกาล พาลขื่นขม
ผิดพลั้งพลาด พลาดพลั้งผิด จิตระทม
เลื่อนลอยลม ลมลอยเลื่อน เบือนบิดใจ


ธรรมใส่ใจ ใส่ใจธรรม ล้ำค่าคิด
น้อมนำจิต จิตน้อมนำ ธรรมสดใส
สว่างจิต จิตสว่าง ได้ดังใจ
ไร้ค่าไย ไยไร้ค่า ปัญญามี

สุภวิโมกข์
13 ต.ค. 52



วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ใครลิขิต

(1) มีพบย่อมมีจาก
ล็อกอินอนัตตา

(2) จะทำอย่างไรเล่า
มายึดเราทำไม

(3) หรือว่าเดินหน้าต่อ
ชีวิตเป็นของข้า

(4) ข้าเองขอลิขิต
เหมือนอย่างหน่อไม้นั้น

(5) ไม่เป็นเช่นกอไผ่
เกาะเกี่ยวให้จนมุม

(6) มัชฌิมาปฏิปทา
เร่งเดินไปตามทาง

(7) วัฏฏะนี้ยาวไกล
ประมาทจะพลาดเอา

(8) สุดท้ายถึงมิ่งมิตร
ซาบซึ้งเหลือประมาณ

(9) ลาแล้วไม่ลาลับ
มีเหตุปัจจัยมา

ต้องพลัดพรากเป็นธรรมดา
ถึงเวลาเขายึดไป

ฤาจะเฝ้าพิรี้พิไร
คร่ำครวญไปไม่เลิกรา

ไม่ย่อท้อต่อชะตา
ใครจะมาลิขิตกัน

เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ไร้หนามอันจะเกาะกุม

อันหนามใหญ่เฝ้ากลุ้มรุม
ตัณหาสุมไม่พ้นทาง

จะมุ่งหน้าทางสายกลาง
พระทรงสร้างไว้แก่เรา

เล็งเข็มไว้อย่ามัวเมา
ต้องโศกเศร้าไปอีกนาน

รับรู้จิตที่สื่อสาร
ยามถึงกาลคงต้องลา

คงได้กลับมาพบพา
ค่อยพบหน้ากันอีกที


สุภวิโมกข์
30 ก.ย. 52



วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

เพลงนี้สำหรับคุณทวนทอง

เห็นว่าชอบใจกับเพลงนี้มาก ตั้งแต่สมัยอยู่พันทิป เลยเอามาบรรณาการให้ ตั้งไว้ 99 เที่ยวนะ ฟังกันให้สะใจไปเลย คราวนี้ลงเนื้อเพลงให้ร้องตามด้วย อิอิ

เอ่อ ว่าแต่เจ้าของบล็อคเริ่มหนวกหูแล้วง่ะ 555 อีกอย่างเวลาเข้ามาตั้งค่าต่างๆ ของบล็อคมันก็ดังทุกครั้งเลยอ่ะ เริ่มมึน เอิ๊กส์ เลยขออนุญาตตั้งไม่ให้รันอัตโนมัตินะ ให้คลิกเอาเอง แต่คลิกแล้วก็ฟังยาวไปจนกว่าจะเบื่อ หรือครบ 99 เที่ยวไปเสียก่อน อิอิอิ







Soldier song

Poor little soldier, the war is all done
So tug off your medal and empty your gun
They found you a pillow to lay down your head
So hang up your hang-ups and climb into bed

There's a chime on the hour and a light in the hall
And a picture of nothing in a frame on the wall
And there's rain on the rooftops to the north of the shire
And the trains run the coal through the heart of the night

You fought for your country you fought for your queen
Now everyone's happy, now everyone's free
And God help the bastard who says it's not so
And God help the bastard 'cause what does he know?

Sleep in the knowledge that England is brave
For each loss of breath is a life that you saved
The angels will guard you, they'll tend to your brow
Poor little soldier, come lay your head down

There's a chime on the hour and a light in the hall
And a picture of nothing in a frame on the wall
And there's rain on the rooftops to the north of the shire
And the trains run the coal through the heart of the night

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

สุภวิโมกข์

"สุภวิโมกข์" เป็นชื่ออันดับสองของข้าพเจ้าในการท่องโลกไซเบอร์ ที่จริงก็ไม่ใช่อันดับสองหรอก แต่ชื่ออื่นๆ มันจำไม่ได้ เอาเป็นว่า เป็นชื่ออันดับสองที่ยอมรับเป็นชื่อของตัวเองละกัน ชื่ออันดับแรกใช้เล่นในโลกบันเทิง เมื่อหันเหชีวิตเข้าสู่โลกแห่งธรรม ก็จึงอยากจะได้ชื่อที่เกี่ยวกับธรรมะของพระพุทธองค์บ้าง และชื่อนี้ก็ปรากฎขึ้นกับใจขณะเปิดอ่านหนังสือสอนกรรมฐานของอาจารย์ท่านหนึ่งของข้าพเจ้า ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ ท่านที่คุ้นเคยกับกรรมฐานชนิดนี้ เมื่ออ่านนามสกุลของท่าน คงจะเดาออกทันทีว่ากรรมฐานนั้นก็คือ "วรรณกสิณ" นั่นเอง

คำว่าสุภวิโมกข์นี้เป็นพุทธพจน์ปรากฎในพระไตรปิฎก ๒ แห่ง คือ ในปาฏิกสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๑๗)และในเมตตสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ ข้อ ๕๙๗)

สรุปความในปาฏิกสูตรคือ พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่ภัคควโคตร ว่า เมื่อพระโยคาวจร (ผู้เจริญสมาธิ) เข้าสุภวิโมกข์ (คือเข้าฌานด้วยการ เพ่งสิ่งที่ดีงาม หรือวัณณกสิณเป็นอารมณ์) ย่อมรู้ชัดสิ่งที่ดีงามเท่านั้น แต่มีสมณะพราหมณ์บางพวกกล่าวบิดเบือนไปตรงข้ามว่าพระพุทธองค์ ทรงสอนว่าผู้เข้าสุภวิโมกข์ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม (การเจริญ วัณณกสิณ คือการกำหนดสิ่งทั้งหมดงดงามเป็นอารมณ์)

และในเมตตสูตร ทรงกล่าวถึงการเจริญอัปปมัญญา (เมตตาพรหมวิหาร)ว่ามีสุภวิโมกข์เป็นผล ซึ่งเป็นการกำหนดสิ่งที่ดีงามเป็นอารมณ์เช่นกัน ฌานที่ได้ด้วยการเจริญวัณณกสิณ และอัปปมัญญา จึงเรียกว่า สุภวิโมกข์ สามารถทำให้จิตสงบระงับจากอกุศลธรรมได้ตลอดเวลาที่อยู่ในฌาณ

กัลยาณมิตรของข้าพเจ้าท่านหนึ่งได้กรุณาเขียนบทกวีเกี่ยวกับ "สุภวิโมกข์" ให้ไว้เป็นที่ระลึก จึงขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย