วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

เพลงนี้สำหรับคุณทวนทอง

เห็นว่าชอบใจกับเพลงนี้มาก ตั้งแต่สมัยอยู่พันทิป เลยเอามาบรรณาการให้ ตั้งไว้ 99 เที่ยวนะ ฟังกันให้สะใจไปเลย คราวนี้ลงเนื้อเพลงให้ร้องตามด้วย อิอิ

เอ่อ ว่าแต่เจ้าของบล็อคเริ่มหนวกหูแล้วง่ะ 555 อีกอย่างเวลาเข้ามาตั้งค่าต่างๆ ของบล็อคมันก็ดังทุกครั้งเลยอ่ะ เริ่มมึน เอิ๊กส์ เลยขออนุญาตตั้งไม่ให้รันอัตโนมัตินะ ให้คลิกเอาเอง แต่คลิกแล้วก็ฟังยาวไปจนกว่าจะเบื่อ หรือครบ 99 เที่ยวไปเสียก่อน อิอิอิ







Soldier song

Poor little soldier, the war is all done
So tug off your medal and empty your gun
They found you a pillow to lay down your head
So hang up your hang-ups and climb into bed

There's a chime on the hour and a light in the hall
And a picture of nothing in a frame on the wall
And there's rain on the rooftops to the north of the shire
And the trains run the coal through the heart of the night

You fought for your country you fought for your queen
Now everyone's happy, now everyone's free
And God help the bastard who says it's not so
And God help the bastard 'cause what does he know?

Sleep in the knowledge that England is brave
For each loss of breath is a life that you saved
The angels will guard you, they'll tend to your brow
Poor little soldier, come lay your head down

There's a chime on the hour and a light in the hall
And a picture of nothing in a frame on the wall
And there's rain on the rooftops to the north of the shire
And the trains run the coal through the heart of the night

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

สุภวิโมกข์

"สุภวิโมกข์" เป็นชื่ออันดับสองของข้าพเจ้าในการท่องโลกไซเบอร์ ที่จริงก็ไม่ใช่อันดับสองหรอก แต่ชื่ออื่นๆ มันจำไม่ได้ เอาเป็นว่า เป็นชื่ออันดับสองที่ยอมรับเป็นชื่อของตัวเองละกัน ชื่ออันดับแรกใช้เล่นในโลกบันเทิง เมื่อหันเหชีวิตเข้าสู่โลกแห่งธรรม ก็จึงอยากจะได้ชื่อที่เกี่ยวกับธรรมะของพระพุทธองค์บ้าง และชื่อนี้ก็ปรากฎขึ้นกับใจขณะเปิดอ่านหนังสือสอนกรรมฐานของอาจารย์ท่านหนึ่งของข้าพเจ้า ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ ท่านที่คุ้นเคยกับกรรมฐานชนิดนี้ เมื่ออ่านนามสกุลของท่าน คงจะเดาออกทันทีว่ากรรมฐานนั้นก็คือ "วรรณกสิณ" นั่นเอง

คำว่าสุภวิโมกข์นี้เป็นพุทธพจน์ปรากฎในพระไตรปิฎก ๒ แห่ง คือ ในปาฏิกสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อ ๑๗)และในเมตตสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ ข้อ ๕๙๗)

สรุปความในปาฏิกสูตรคือ พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่ภัคควโคตร ว่า เมื่อพระโยคาวจร (ผู้เจริญสมาธิ) เข้าสุภวิโมกข์ (คือเข้าฌานด้วยการ เพ่งสิ่งที่ดีงาม หรือวัณณกสิณเป็นอารมณ์) ย่อมรู้ชัดสิ่งที่ดีงามเท่านั้น แต่มีสมณะพราหมณ์บางพวกกล่าวบิดเบือนไปตรงข้ามว่าพระพุทธองค์ ทรงสอนว่าผู้เข้าสุภวิโมกข์ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม (การเจริญ วัณณกสิณ คือการกำหนดสิ่งทั้งหมดงดงามเป็นอารมณ์)

และในเมตตสูตร ทรงกล่าวถึงการเจริญอัปปมัญญา (เมตตาพรหมวิหาร)ว่ามีสุภวิโมกข์เป็นผล ซึ่งเป็นการกำหนดสิ่งที่ดีงามเป็นอารมณ์เช่นกัน ฌานที่ได้ด้วยการเจริญวัณณกสิณ และอัปปมัญญา จึงเรียกว่า สุภวิโมกข์ สามารถทำให้จิตสงบระงับจากอกุศลธรรมได้ตลอดเวลาที่อยู่ในฌาณ

กัลยาณมิตรของข้าพเจ้าท่านหนึ่งได้กรุณาเขียนบทกวีเกี่ยวกับ "สุภวิโมกข์" ให้ไว้เป็นที่ระลึก จึงขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย