วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขอเวลาหน่อย



อัพรูปดีกว่า ง่ายดี อิอิอิ ขี้เกียจตัวเป็นขนแล้ว เอิ๊กส์

ไปปั่นงานต่อก่อน งึมๆ



วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันเกิดมิตรสหาย

ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันดี คือวันคล้ายวันเกิดของกัลยาณมิตรคนหนึ่งของข้าพเจ้า ก็เลยนึกถึงความสนุกสนานเก่าๆ สมัยเขียนบล็อคเพลง ตอนนั้นมิตรสหายล้วนเป็นพวกบ้าเพลงด้วยกัน เมื่อถึงวันเกิดใครก็จะเขียนบล็อคมอบเพลงให้กันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง แต่เนื่องจากกัลยาณมิตรคนนี้ท่านโปรฯ ด้านธรรมมะ และยังเป็นนักกวีที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย บล็อควันเกิดสำหรับเพื่อนอย่างท่านจึงต้องออกมาเป็นบทกลอน

ซึ่งเจ้าของวันเกิดได้แต่งบทกวีสำหรับวันเกิดของท่านเองส่งมาให้ข้าพเจ้า เจ้าของบล็อคในฐานะแฟนคลับและเพื่อนคนหนึ่งจึงขอนำมาลงในบล็อคนี้เพื่อแสดงความยินดีในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ (เท่าไหร่ไม่รู้) ถ้าประมาณอายุทางธรรมคงเกินร้อย แต่อายุจริงน่าจะยังวัยรุ่น (ตอน ???) อยู่ อิอิอิ พร้อมบทกวีอำนวยพรของข้าพเจ้าที่มอบให้ในวาระวันคล้ายวันเกิดนี้ด้วย





HAPPY  BIRTHDAY 





มีบทกวีที่กัลยาณมิตรท่านนี้ได้เขียนสนทนาโต้ตอบกับบทกวีในบล็อคของข้าพเจ้ารวมทั้งต่อยอดให้ด้วย ขอนำมารวมไว้ด้วยกันในบล็อคนี้เสียเลย ขี้เกียจเขียนหลายบล็อค อิอิอิ








วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระอรหันต์ผู้บวชแล้วสึก 7 ครั้ง

(1) พระจิตตหัตถ์เจ้า
บวชสึกอยู่เจ็ดครา
เพ่งพินิจภรรยา
ประจักษ์โสดาแล้

(2) พระจิตตหัตถ์เจ้า
คิดถึงซึ่งภรรยา

(3) สุดท้ายเพ่งพินิจ
ซากศพดูช่างเหมือน

(4) ซาบซึ้งซึ่งไตรลักษณ์
ครั้งเจ็ดสุดท้ายนั้น

(5) เพียรเพ่งเผากิเลส
อรหัตต์ท่านสร้างเสริม

(6) ภิกษุผู้เพื่อนพ้อง
เหตุใดครานี้ท่าน

(7) คราก่อนมีเครื่องข้อง
บัดนี้เครื่องพันธนา

(8) ภิกษุต่างดำริ
กราบทูลพระพุทธองค์

(9) ธรรมบท ธ ทรงตรัส
ตรัสถึงซึ่งปัญญา

(10) แส่ส่ายฟุ้งซ่านไป
ปัญญามิอาจตรง

(11) แต่ผู้อันราคะ
ละทั้งบุญบาปสูญ

(12) วัตถุกามกิเลส
อันตรายต่อพรหมจรรย์

(13) เพราะเหตุท่านละแล้ว
ตื่นรู้อยู่ทุกครา


เถรา
ยุ่งแท้
ดุจซาก ศพเฮย
หลีกพ้นมลทิน ฯ

บวชแล้วเล่าอยู่เจ็ดครา
ลาสิกขาออกสู่เรือน

แม่หลับสนิทไม่บิดเบือน
มิอาจเอื้อนเอ่ยครามครัน

โสดามรรคบรรลุพลัน
ไม่อาจหันกลับทางเดิม

ประหารเหตุอย่าเหิมเกริม
บรรลุเพิ่มจบพรหมจรรย์

ต่างจดจ้องถามไถ่กัน
ไม่สึกพลันเหมือนก่อนมา

จึงจำต้องลาสิกขา
อาตมาปลดแอกลง

ท่านอุตริมนุสธรรมคง
ตถาคตทรงเปล่งวาจา

ภาษิตชัดในมรรคา
ผู้จิตนั้นไม่มั่นคง

ความเลื่อมใสไม่หยั่งลง
พระสัทธรรมคงไม่บริบูรณ์

แลโทสะไม่พอกพูน
กิเลสมูลไม่ติดพัน

ไม่เป็นเหตุเภทภัยอัน
ผัสสะนั้นเพียงกิริยา

ไม่อาจแผ้วภัยพาลมา
นี้ธรรมาแห่งพุทธธรรม



ปัญญาของคนที่จิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม

มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ย่อมไม่บริบูรณ์

ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ที่จิตไม่ชุ่มด้วยราคะ

โทสะไม่กระทบ ละบุญละบาปได้แล้ว ตื่นอยู่


เก็บความจาก
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประทีปบูชา

@ สารีปุตตเจ้า

ดับสนิทอนุปาทา

เพ็ญทวาทศมาสมา

ประทีปบูชาแล้ว


เถรา

เพริศแพร้ว

บรรจบ

ท่านนั้นพรรณนา ฯ





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

จุนทสูตร

ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร



[๗๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ บ้านนาฬกคาม

ในแคว้นมคธ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน ครั้งนั้น

ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.


[๗๓๔] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตร เข้าไปหา

พระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี นมัสการ

ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ท่านพระอานนท์กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีอยู่ มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระองค์ สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์

แล้ว.


[๗๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะรูปนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร

ปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะ

งอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะ

ได้ฟังว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.


[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์

ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์

ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตร

เป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดง

ธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม

ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.


[๗๓๗] พ. ดูกรอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า

จักต้องมีความจาก ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เพราะ

ฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้


[๗๓๘] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ลำต้นใดซึ่งใหญ่

กว่าลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพาน

แล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน? สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว

ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย

ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.


[๗๓๙] ดูกรอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ

มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชญาและโทมนัสในโลก

เสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร

อานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม

เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่อย่างนี้แล.


[๗๔๐] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่เราล่วงไปก็ดี

จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็น

ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ พวกภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

จบ สูตรที่ ๓


อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก จุนทสูตร

อ่านอรรถกถา จุนทสูตร